หมวดหมู่: อาหารไทย

แกงเขียวหวานไก่

แกงเขียวหวานไก่แกงเขียวหวานไก่

แกงเขียวหวานไก่
แกงเขียวหวานไก่

     หากใครกำลังหาเมนูอาหารไทยมารับประทานกันในครัวเรือน ในวันนี้เรามีสูตรในการทำอาหารไทยยอดนิยมอย่างแกงเขียวหวานไก่ อาหารไทยประเภทแกงที่สามารถทานได้อย่างหลากหลายทั้งกับข้าวสวยร้อน ๆ หรือกับขนมจีนก็อร่อยไม่แพ้กัน มาบอกต่อให้ทุกคนได้ลองทำตามกันง่าย ๆ พร้อมเคล็ดไม่ลับการทำให้มะเขือสีสวยไม่ดำคล้ำ และทำให้กะทิแตกมันหอมอร่อยมากยิ่งขึ้น

แกงเขียวหวานไก่
วัตถุดิบแกงเขียวหวานไก่

     แกงเขียวหวานไก่ มีรสชาติเค็มนำ หวานตาม มันกะทิกลมกล่อม เป็นอาหารไทยของภาคกลางที่อยู่คู่คนไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยมีที่มาจากแกงเลียง และแกงป่าที่ไม่ได้ใส่กะทิเป็นส่วนผสม ต่อมาจึงถูกพัฒนามาใส่กะทิ และพริกแห้งลงไปจนกลายเป็นแกงเผ็ด และกลายเป็นแกงเขียวหวานอาหารไทยยอดนิยมทั้งในประเทศไทย และยังมีชื่อเสียงในต่างประเทศมาจนถึงปัจจุบัน วัตถุดิบส่วนผสมก็มีดังนี้

วัตถุดิบแกงเขียวหวานไก่
  1. เนื้อไก่หั่นชิ้นพอดีคำ 300 กรัม 
  2. มะเขือเปราะหั่นแช่น้ำเกลือ 300 กรัม
  3. มะเขือพวง 50 กรัม
  4. ใบโหระพา 1 กำมือ
  5. ใบมะกรูดหั่นครึ่ง 5 ใบ
  6. พริกชี้ฟ้าแดงสไลด์บาง ปริมาณตามชอบ
  7. หัวกะทิ 200 กรัม
  8. หางกะทิ 400 กรัม
  9. พริกแกงเขียวหวาน 3 ช้อนโต๊ะ
  10. น้ำปลา 2 ทัพพี
  11. น้ำตาลปี๊ป 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีการทำแกงเขียวหวานไก่

     เมนูที่เรานำมาแนะนำในวันนี้เป็นเมนูอาหารไทยยอดนิยม เป็นแกงเขียวหวานแบบโบราณที่สามารถนำไปปรับใช้กับเนื้อสัตว์ได้ทุกชนิด อีกทั้งยังเป็นเมนูเพื่อสุขภาพที่มีประโยชน์มากมายจากวัตถุดิบต่าง ๆ ที่นพมาใช้ประกอบอาหาร เช่น มะเขือพวง ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยให้เลือดหมุนเวียนดี , มะเขือเปราะ ช่วยลดความดัน บำรุงหัวใจ ต้านมะเร็ง นอกจากนี้ยังมีประโยชน์อีกมากมาย รู้อย่างนี้แล้วต้องรีบเตรียมวัตถุดิบมาเข้าครัวลงมือทำกันเลยค่ะ

  1. ขั้นตอนแรกใส่หัวกะทิลงไปเคี่ยวในหม้อให้แตกมัน โดยใช้ไฟอ่อน ตามด้วยพริกแกงลงไปเคี่ยวให้เข้ากันดี และมีกลิ่นหอม เติมหัวกะทิเพิ่มความหอม ตามด้วยเนื้อไก่ลงไปผัดคลุกคล้ากับส่วนผสมที่ใส่ลงไปให้เข้าเนื้อ เติมหางกะทิลงไป ทิ้งไว้ให้เริ่มเดือดแล้วจึงคนให้ไก่สุกทั่วกัน 
  2. เมื่อน้ำในหม้อเดือดได้ที่แล้วใส่มะเขือเปราะลงไปคนให้โดนความร้อนทั่วกัน เพื่อไม่ให้มะเขือดำ หากมะเขือเริ่มนิ่มแล้วปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลปี๊บ คนให้เข้ากัน (ในขั้นตอนนี้ให้ชิมแล้วปรุงรสเพิ่มได้ตามชอบ)
  3. หากมะเขือนิ่มพอดีแล้วใส่มะเขือพวงลงไป จากนั้นใส่ใบมะกรูด ใบโหระพา พริกชี้ฟ้าแดงเพิ่มสีสัน จากนั้นคนให้เข้ากันแล้วปิดไฟจัดเสิร์ฟได้เลยค่ะ

READ MOREREAD MORE
พะแนงเนื้อ

พะแนงเนื้อ อาหารภาคกลางพะแนงเนื้อ อาหารภาคกลาง

พะแนงเนื้อ
พะแนงเนื้อ

     อาหารภาคกลางนั้นเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมกันทั่วประเทศ เอกลักษณ์นั้นก็คงจะเป็นความหลากหลายของรสชาติอาหาร เปรี้ยว เค็ม หวาน มัน เผ็ดครบรส และวัตถุดิบ ทั้งยังมีมากมายให้เราได้เลือกรับประทาน ทั้งคาว และหวาน ทำรับประทานง่าย ๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน เพราะเป็นภาคที่ถือว่าอุดมสมบูรณ์กว่าภาคอื่น ๆ ในประเทศไทย แถมยังเป็นภาคที่ผสมผสานวัฒนธรรมอาหารของต่างชาติเข้ามาด้วย วิธีการปรุงเองก็มีความหลากหลายด้วยเช่นกัน ทั้งการแกง ต้ม ผัด ยำ ทอด ในวันนี้เราจึงได้นำเมนูอาหารภาคกลางประเภทแกงอย่าง “พะแนง” มาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกันมากยิ่งขึ้น

     เชื่อว่าหลายคนนั้นคงเคยรับประทานพะแนงมาบ้างแล้ว เพราะเป็นอีกหนึ่งอาหารไทยที่ได้รับความนิยมทั้งในไทย และต่างชาติ เพราะเป็นอาหารที่มีเอกลักษณ์แบบไทยแท้ ๆ อร่อยเข้มข้นเต็มรสพริกแกงจากเครื่องเทศหลายชนิด เช่น ข่า ตะไคร้ รากผักชี ฯลฯ รสชาตินั้นลงตัวสุด ๆ ทั้งความหอมละมุนจากส่วนผสม และยังเป็นอาหารที่อยู่คู่คนไทยมานานตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ โดยเชื่อกันว่าแต่เดิมนั้นเป็นไก่ย่าง ราดด้วยพริกแกง ไม่ใช่แกงพะแนงอย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบัน ดังนั้น เราไปทำความรู้จักเมนูนี้ให้มากขึ้นกันดีกว่าค่ะ

| พะแนง หนึ่งในอาหารไทยที่ถูกกล่าวถึงในตำราแม่ครัวหัวป่าก์
พะแนงเนื้อ

     “สมั่นแกงพะแนงไก่ให้เสวย ขนมปังขนุนหนังทั้งนมเนย แต่งสังเวยตั้งเต็มโต๊ะสุวรรณ” นี่คือคำที่กล่าวถึงแกงพะแนงในตำราอาหารไทยเล่มแรกอย่าง “แม่ครัวหัวป่าก์” โดยท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงค์ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งถือเป็นตำราอาหารที่สำคัญมากกับอาหารไทย และทำให้เราได้รู้ว่าเมนูอาหารภาคกลางนามว่าพะแนงนั้นเป็นเมนูที่ถูกส่งต่อกันมารุ่นสู่รุ่นตั้งแต่ในสมัยโบราณ และเป็นอาหารที่ได้รับวัฒนธรรมมาจากอินเดีย และวัฒนธรรมการกินของเขมรผสมผสานกัน เนื่องจากชื่อนั้นมาจากภาษาเขมรที่แปลว่าท่าขาไขว้ขัดกัน หรือที่เราเรียกกันว่านั่งขัดสมาธินั่นเองค่ะ

     นอกจากพะแนงจะเป็นอาหารที่อร่อยเข้มข้นครบรสตามแบบฉบับอาหารไทยแล้ว ยังเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการอีกด้วย เป็นอาหารที่มีโปรตีนจากเนื้อสัตว์สูง ไขมันคุณภาพดีจากกะทิ เหมาะกับคนที่ใช้พลังงานเยอะ ๆ อีกทั้งเครื่องเทศต่าง ๆ ที่นำมาใช้ทำเครื่องแกงยังมีสรรพคุณเฉพาะตัวมากมายนับไม่ถ้วน ถือเป็นอาหารไทยที่ทั้งอร่อย และมีประโยชน์ ดังนั้น เราจึงได้มีสูตรวิธีการทำสุดแสนจะง่ายดาย ทั้งส่วนของพริกแกงพะแนง และส่วนของวิธีการทำง่าย ๆ ให้ทุกคนได้อัพทักษะทำอาหารให้เพิ่มขึ้น และในตอนนี้เราไปดูวัตถุดิบที่ใช้ในการทำกันเลยค่ะ

วัตถุดิบในการพะแนง
วัตถุดิบในการทำพริกแกงพะแนง
  1. พริกแห้งเม็ดใหญ่แช่น้ำ 80 กรัม
  2. ข่า 2 ช้อนโต๊ะ
  3. ตะไคร้ 3 ช้อนโต๊ะ
  4. กระเทียมไทย 3 ช้อนโต๊ะ
  5. หอมแดง 3 ช้อนโต๊ะ
  6. ลูกผักชีคั่ว 1 ช้อนโต๊ะ
  7. ลูกยี่หร่าคั่ว 2 ช้อนชา
  8. ผิวมะกรูด 2 ช้อนชา
  9. รากผักชี 2 ช้อนชา
  10. กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ
  11. เกลือ 2 ช้อนชา
วัตถุดิบในการทำพะแนงเนื้อ
  1. เนื้อวัว 500 กรัม
  2. มะเขือพวง 1 ถ้วย
  3. พริกชี้ฟ้าหั่นแฉลบ 2 เม็ด
  4. ใบมะกรูดซอย 7 ใบ
  5. หัวกะทิ 1 ถ้วย
  6. กะทิ 1 ถ้วย
  7. พริกแกงพะแนง 50 กรัม
  8. น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
  9. น้ำตาลปี๊ป 2 ช้อนโต๊ะ
วัตถุดิบในการพะแนง
ขั้นตอนวิธีการทำพะแนงเนื้อ

     พะแนงนั้นเป็นอาหารไทยประเภทแกง ซึ่งในสมัยก่อนนิยมใช้ถั่วลิสงคั่วเป็นวัตถุดิบหลัก จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของแกงพะแนง ซึ่งเราเห็นได้ยากแล้วในปัจจุบัน เพราะถั่วลิสงไม่ได้รับความนิยมในยุคนี้ แต่หากใครอยากลองทานก็สามารถใส่เพิ่มเติมได้จากสูตรวิธีการทำที่เรานำมาให้ทุกคนได้ลองทำตามกันง่าย ๆ และสามารถปรับใช้สูตรนี้กับเนื้อสัตว์ได้ทุกชนิด

  1. ขั้นตอนแรกตำพริกแกงพะแนง โดยเริ่มจากการใส่พริก เกลือป่น รากผักชี ผิวมะกรูด ลูกผักชีคั่ว ลูกยี่หร่าคั่ว ตะไคร้ซอย และข่า พอตำจนละเอียดแล้วให้เติมกระเทียม หอมแดง ตำให้ละเอียด และเติมกะปิลงไปตำต่อให้เข้ากันเป็นเนื้อพริกแกงพะแนง
  2. ตั้งกระทะด้วยไฟกลาง เติมหัวกะทิลงไป เมื่อกะทิเดือดแล้วให้ใส่พริกแกงพะแนงที่เตรียมไว้ในขั้นตอนแรกลงไปคนให้กะทิแตกมัน จากนั้นใส่เนื้อวัวลงไปผัดให้เข้ากันจนเนื้อวัวสุก ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ น้ำปลา กะทิ คนให้เข้ากันจนน้ำกะทิเข้มข้น ตามด้วยมะเขือพวง พริกชี้ฟ้า ใบมะกรูดซอย เมื่อมะเขือพวงสุกแล้วก็จัดเสิร์ฟได้เลยค่ะ

ภาพจาก

READ MOREREAD MORE
ไส้อั่ว

ไส้อั่ว อาหารเหนือไส้อั่ว อาหารเหนือ

ไส้อั่ว อาหารเหนือ
ไส้อั่ว

     เมื่อมีโอกาสได้ไปเที่ยวทางภาคเหนือ อาหารประจำภาคที่ต้องลองชิมให้ได้ และต้องซื้อติดไม้ติดมือกลับไปฝากเพื่อน ๆ หรือญาติ นั้นก็คือ “ไส้อั่ว” ซึ่งไส้นั้นหมายถึงลำไส้เล็กของหมูที่นำมาห่อหุ้ม ส่วนอั่วเป็นการประกอบอาหารของทางภาคเหนือ โดยการนำมาแทรก หรือยัดเครื่องปรุงใส่ในไส้ จึงสรุปได้ง่าย ๆ ว่า ชื่อของอาหารภาคเหนือนี้มาจากความหมายตรงตัวที่แปลว่าเอาเนื้อหมูมายัดใส่ไว้ในลำไส้หมูอีกทีค่ะ จากนั้นจึงนำไปย่างให้สุกเกรียม จนมีกลิ่นหอมเย้ายวล

     ในสมัยโบราณนั้นนิยมทำไส้อั่ว เพื่อรับประทานกันในงานบุญ ซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมทางภาคเหนือที่สืบต่อกันมาตั้งแต่ในสมัยโบราณ ซึ่งเป็นเมนูที่ถูกประยุกต์มาจากชาวไทใหญ่ที่อพยพมาอยู่ในเมืองล้านนา ด้วยการใส่เครื่องเทศสมุนไพรมากมาย จนกลายเป็นอาหารประจำถิ่นทางภาคเหนือ และได้รับความนิยมมากมาจนถึงปัจจุบัน และมีราคาสูงมากในสมัยก่อน สามารถเก็บไว้ได้เพียง 1 – 2 วันเท่านั้น ต่อมาก็ได้มีการใช้เทคนิคถนอมอาหาร ทำให้สามารถเก็บไว้รับประทานได้นานมากยิ่งขึ้น

     ไส้อั่วนั้นนอกจากจะมีความอร่อยจนเป็นที่นิยมแล้ว ยังมีประโยชน์จากสมุนไพรนา ๆ ชนิดที่นำมาใช้ในการทำ เช่น ตะไคร้ ช่วยบรรเทาอาหารป่วยได้มากมาย , พริกสด ช่วยฆ่าเชื้อราในกระเพราะ , พริกไทย ช่วยต้านอนุมูลอิสระ , ใบมะกรูด ช่วยลดไขมันในเส้นเลือก , ผักชีฝรั่ง ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ และป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ , กระเทียม สร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย , หอมแดง บรรเทาอาหารแพ้คัน , ขมิ้นชัน ชะลอริ้วรอย เป็นต้น วัตถุดิบสมุนไพรเหล่านี้ยังมีประโยชน์อีกมากมาย ให้คุณสามารถทานเพื่อเสริมสุขภาพได้

| ไส้อั่ว อาหารสมุนไพรที่ดีต่อสุขภาพ
ไส้อั่ว

     ไส้อั่วนั้นเป็นอาหารพื้นเมืองของภาคเหนือ ที่ประกอบด้วยสมุนไพรที่มีคุณประโยชน์มากมาย และมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์จากเครื่องเทศต่าง ๆ อย่างพริกแห้ง ข่า และใบมะกรูด เพื่อกลบกลิ่นคาวของไส้ และเนื้อหมู นิยมผสมกับมันหมู เพื่อไม่ให้มีเนื้อสัมผัสที่หยาบกระด้าง หรือจะเป็นเนื้ออื่น ๆ ก็สามารถทำเป็นไส้อั่วได้เช่นกัน ส่วนรสชาติที่เป็นจุดเด่นก็คือ รสเผ็ดจัดจ้าน ประกอบกับกลิ่นหอมเครื่องเทศ เมื่อนำไปย่างแล้วจะหอมเย้ายวลมากยิ่งขึ้น 

     เนื่องจากความนิยมรับประทาน ในปัจจุบันจึงมีการทำไส้อั่วออกมาจำหน่ายมากมาย ทั้งแบบเผ็ดมาก เผ็ดน้อย ติดมัน ไม่ติดมัน และยังมีไส้อั่วสำหรับคนที่ทานมังสวิรัติออกมาจำหน่าย ให้เราได้เลือกสรรได้ตามใจชอบ ส่วนราคาก็จะแตกต่างกันออกไปตามวัตถุดิบที่เลือกใช้ แต่เนื่องจากเป็นอาหารภาคเหนือที่เน้นเครื่องเทศมากมาย จึงอาจจะมีบางอย่างที่มีกลิ่น และรสชาติที่ไม่ถูกปากของบางคน และหากจะต้องเดินทางไปซื้อถึงทางภาคเหนือก็ถือเป็นเรื่องที่ลำบากไม่น้อย เราจึงมีสูตร และวิธีการทำง่าย ๆ มานำเสนอให้กับทุกคน เพื่อให้สามารถทำทานเองได้ ปรับเพิ่มลดวัตถุดิบต่าง ๆ ได้ตามความชอบ

วัตถุดิบในการทำไส้อั่ว
  1. หมูสับติดมัน 1 กิโลกรัม
  2. เกลือป่น 1/2 ช้อนโต๊ะ
  3. น้ำมันหอย 2 ช้อนโต๊ะ
  4. เมล็ดผักชีคั่ว 1/2 ช้อนโต๊ะ
  5. ตะไคร้ซอย 40 กรัม
  6. ข่าซอย 40 กรัม
  7. กระเทียมซอย 20 กรัม
  8. หอมแดงซอย 100 กรัม
  9. พริกแห้ง 10 กรัม
  10. ใบมะกรูดซอย 10 ใบ
  11. ขมิ้นซอย 20 กรัม
  12. ไส้อ่อนหมูล้างสะอาด 1.5 เมตร
วัตถุดิบ ไส้อั่ว
ขั้นตอนวิธีการทำไส้อั่ว

     มาถึงขั้นตอนวิธีการทำอาหารพื้นบ้านภาคเหนืออย่างไส้อั่วที่สุดแสนจะง่ายดายของเราแล้ว เชื่อว่าทุกคนสามารถทำเองได้ง่าย ๆ เพื่อให้ได้ไส้อั่วแสนอร่อยไม่แพ้ไส้อั่วตามร้านดัง ๆ จากภาคเหนือเลยทีเดียว สามารถทำเพื่อรับประทานที่บ้าน ทำไว้ติดตู้เก็บไว้ทานได้เป็นระยะเวลานาน หรือใครจะทำขายก็รายได้ดีแน่นอนค่ะ

  1. ขั้นตอนแรกทำพริกแกง โดยใส่เกลือป่น และเมล็ดผักชีคั่วลงไปโขลกในครกให้ละเอียด จากนั้นใส่ตะไคร้ ข่า ขมิ้น โขลกผสมกันให้ละเอียด ตามด้วยการใส่พริกแห้ง กระเทียม และหอมแดงไปโขลกอีกครั้ง
  2. ใส่หมูลงในชามผสม ตามด้วยใบมะกรูดซอย น้ำมันหอย จากนั้นใส่ส่วนผสมในขั้นตอนแรกลงไปผสมให้เข้ากัน แล้วพักไว้เป็นเวลา 1 ชั่วโมง
  3. นำขวดน้ำมาตัดใช้เพียงส่วนบนของขวด นำไส้ที่ล้างสะอาดแล้วมามัดใส่ที่ปากขวด เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการอั่ว หรือการกรอกส่วนผสมที่เตรียมไว้ลงไป 
  4. เมื่อพักจนครบเวลาแล้ว ยัดใส่หมูลงไปส่วนปากขวก ค่อย ๆ ใช้ช้อนยัดเข้าไปจนกว่าจะเต็มไส้ เสร็จแล้วผูกมัดท้ายไส้ และดึงขวดออกจากไส้ จากนั้นก็มัดไว้เช่นกัน
  5. สำหรับใครที่ยังไม่รับประทานสามารถนำไปแช่ตู้ไว้ได้เลยค่ะ แต่สำหรับใครพร้อมจะรับประทานแล้ว ให้จิ้มด้วยไม้จิ้มฟันเล็กน้อยให้ระบายแรงดัน และนำไปย่าง หรือทอด เพื่อรับประทานได้เลยค่ะ

ภาพจาก

READ MOREREAD MORE
คั่วกลิ้ง

คั่วกลิ้ง อาหารใต้คลุกเคล้าเครื่องเทศคั่วกลิ้ง อาหารใต้คลุกเคล้าเครื่องเทศ

คั่วกลิ้ง
คั่วกลิ้ง

     อาหารใต้นั้นขึ้นชื่อเรื่องเครื่องเทศ และความเผ็ดร้อน สำหรับคนที่ชอบรับประทานอาหารรสจัด คงกลายเป็นเมนูเด็ดที่ต้องรับประทานเป็นประจำ ในตอนนี้เราจึงได้นำเมนูอาหารพื้นบ้านจากปักษ์ใต้มาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จัก และได้ลองทำตามกันง่าย ๆ นะคะ นั่นก็คือเมนูยอดนิยม “คั่วกลิ้ง” นั่นเองค่ะ ซึ่งคั่วกลิ้งนั้นเป็นอาหารที่มากด้วยเครื่องเทศสมุนไพร ที่ขึ้นชื่อเรื่องความเผ็ดร้อน เข้มข้น อร่อยลงตัวสุด ๆ และแสดงเอกลักษณ์ของอาหารใต้อย่างความเผ็ดร้อน และเครื่องเทศสมุนไพรอย่างชัดเจน

     ชื่อของคั่วกลิ้งมาจากลักษณะวิธีการทำอาหาร ที่ต้องผัดเนื้อสัตว์ลงในกระทะจนกว่าเนื้อจะแห้งเข้ากันกับเครื่องเทศ และสามารถกลิ้งได้ในกระทะ จนกลายเป็นที่มาของชื่ออาหารใต้ชนิดนี้ โดยคาดว่าเป็นวัฒธรรมด้านอาหารที่รับมาจากชาวมุสลิม เพราะวิธีการปรุงนั้นคล้ายกับอาหารของชาวมุสลิม ที่มีชื่อว่าเรนดัง หรือก็คือเนื้อกะทิ ซึ่งก็ได้รับอิทธิพลมาจากอาหรับ และอินเดียเช่นกัน แต่ก็เป็นเมนูที่ต้องเคี่ยวกะทินานถึง 8 ชั่วโมง และวิธีการนี้ก็ทำให้อาหารสามารถเก็บไว้ได้นานค่ะ แตกต่างกันตรงวิธีการทำที่ใช้เวลาน้อยกว่า และคั่วดกลิ้งไม่ใช้กะทิในส่วนผสมค่ะ

| คั่วกลิ้ง
คั่วกลิ้งหมูสับ

     คั่วกลิ้งนั้นเป็นอาหารที่มีเอกลักษณ์ ทั้งรูปร่างหน้าตาอาหารที่แปลกตา หอมเย้ายวลกลิ่นเครื่องเทศ และรสชาติเผ็ดร้อน บวกกับเค็มพริกแกงตามแบบฉบับอาหารใต้ เมื่อนำมารับประทานกับผักเครื่องเคียงอย่างแตงกวา สะตอ ลูกเหรียง ฯลฯ ก็อร่อยเข้ากันแบบสุด ๆ ช่วยแก้อาการเผ็ดได้เป็นอย่างดี ซึ่งเมนูนี้ก็มีขายทั่วไปตามร้านอาหารใต้ และตามร้านอาหารทั่วไป เพราะได้รับความนิยมมากทั่วประเทศ และไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่ากำเนิดขึ้นตอนไหน แต่ก็รู้กันเป็นอย่างดีว่าเกิดขึ้นที่ภาคใต้แน่นอน 

     นอกจากความอร่อยแล้ว คั่วกลิ้งยังเป็นอาหารที่มีประโยชน์ และมีคุณค่าทางโภชนาการมากมาย จากเนื้อสัตว์ และเครื่องเทศสมุนไพรที่นำมาประกอบอาหาร อย่างเช่น ขมิ้นที่นิยมใช้ทำอาหารใต้ ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างภูมิต้านทาน ป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง , พริกไทย ช่วยลดน้ำหนัก ลดภาวะซึมเศร้า แก้อาการไอ , ตะไคร้ ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร บรรเทาอาการหวัด ล้างพิษในร่างกาย , ข่า ช่วยให้เจริญอาหาร ยับยั้งโรคมะเร็ง บำรุงร่างกาย , หอมแดง ช่วยบำรุงเลือด หัวใจ ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ เร็ง และลดระดับคอเลสเตอรอล , มะกรูด ช่วยผ่อนคลายความเครียด แก้อาการช้ำใน รักษาริดสีดวง ฯลฯ ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงประโยชน์บางข้อที่เราได้ยกตัวอย่างมาเท่านั้น เพราะสมุนไพรเหล่านี้ยังมีประโยชน์อีกมากมาย

     หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักกับเมนูคั่วกลิ้งกันไปแล้ว เราก็มีสูตรวิธีการทำที่ง่ายดาย ไม่ต้องเดินทางไปซื้อตามร้านอาหาร หรือไปทานตามร้านอาหารใต้ เพราะเราสามารถทำรับประทานเองที่บ้านได้ง่าย ๆ ในทุก ๆ เมื่อ ดังนั้น เราไปดูวัตถุดิบการทำของเรากันเลยค่ะ

วัตถุดิบ
  1. หมูสับ 400 กรัม
  2. ใบมะกรูดซอย 3 – 5 ใบ
  3. ตะไคร้ซอย 1 ต้น
  4. ข่าซอย 1 ต้น
  5. ขมิ้นเหลือง 1 ชิ้น 
  6. หอมแดงเล็ก 2 – 3 หัว
  7. พริกไทยดำ 1 ช้อนชา
  8. พริกไทยสด 1 ช้อนโต๊ะ
  9. กะปิ 1 ช้อนชา
  10. ผิวมะกรูด 1/2 ช้อนชา
  11. น้ำปลา 2 – 3 ช้อนชา
  12. พริกขี้หนูหรือพริกชี้ฟ้าสามารถใส่ได้ตามชอบ
วัตถุดิบในการทำคั่วกลิ้งหมู
วิธีการทำ

     แม้วัตถุดิบในการทำนั้นจะมีมากมาย แต่ก็หาซื้อได้ง่าย และวิธีการทำก็ง่ายดาย ทุกคนสามารถทำได้ง่าย ๆ เพียง 2 ขั้นตอน แค่ตำสมุนไพรสำหรับทำเครื่องแกง และคั่วให้เข้ากัน ก็สามารถได้เมนูคั่วกลิ้งอาหารใต้แสนอร่อยตามแบบฉบับของเรา ที่สามารถเพิ่ม หรือลดปริมาณส่วนผสมต่าง ๆ ได้เองตามความชอบของเรา ซึ่งขั้นตอนวิธีการทำก็มีดังนี้

  1. ขั้นตอนแรกตำพริกแกง ด้วยการตำข่า ตะไคร้ พริกขี้หนู ผิวมะกรูด พอตำจนละเอียดแล้ว ให้ใส่หอมแดง ขมิ้น พริกไทยดำ และกะปิลงไปตำให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว
  2. ตั้งกระทะด้วยไฟอ่อน ใส่พริกแกงที่ตำไว้ในขั้นตอนที่ 1 ลงไป จากนั้นใส่เนื้อหมูสับลงไปผัดให้เข้ากัน จากนั้นใส่น้ำเล็กน้อย เพื่อไม่ให้แห้งจนเกินไป เมื่อหมูสุกแล้ว ปรุงรสด้วยน้ำปลา ตามด้วยตะไคร้ มะกรูด และพริกไทยดำสด เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้น จัดใส่จานได้เลยค่ะ

ภาพจาก

READ MOREREAD MORE
แกงจืดไข่น้ำ

แกงจืดไข่น้ำแกงจืดไข่น้ำ

แกงจืดไข่น้ำ
เมนูมังสวิรัติแสนอร่อย แกงจืดไข่น้ำ

     ในตอนนี้เรามีทางเลือกในการรับประทานที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น จากอาหารมากมายหลายชนิดทั้งอาหารไทย , อาหารต่างชาติ , อาหารคาว , อาหารหวาน , อาหารขยะ , อาหารคลีน , อาหารเจ และอาหารทางเลือกอีกมากมายรวมถึงอาหารมังสวิรัติ ซึ่งหากจะให้ความหมายให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือการรับประทานอาหารที่ปราศจากเนื้อสัตว์ โดยหันมาทานอาหารที่เป็นผัก ผลไม้ และอาหารทดแทนชนิดอื่น ๆ แทน เช่น เต้าหู้ ถั่วต่าง ๆ แต่นั่นก็ไม่ใช่ปัญหาสำหรับคนที่ต้องการทานมังสวิรัติ เพราะในปัจจุบันนั้นมีเมนูมังสวิรัติให้ได้เลือกทานอย่างหลากหลาย ซึ่งแต่ละเมนูก็ถือว่าอร่อยไม่แพ้อาหารทั่วไปเลยทีเดียว 

     กลุ่มคนที่ทานเมนูมังสวิรัติส่วนใหญ่มักจะงดทานเนื้อสัตว์ เพราะเหตุผลที่ว่าไม่ดีต่อสุขภาพ และไม่ต้องการเบียดเบียนสัตว์ร่วมโลก แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ทานเพื่อลดน้ำหนัก ซึ่งการทานอาหารมังสวิรัติสามารถเลือกทานได้หลายแบบ เคร่งครัด และยืดหยุ่นได้ตามความต้องการของตน ยกตัวอย่างการทานที่พบเห็นบ่อยที่สุดก็คือ มังสวิรัตินม และไข่ คือการงดทานเนื้อสัตว์ หันมาทานนมและไข่แทน และมังสวิรัติบริสุทธิ์ก็คือการงดทานเนื้อสัตว์ และงดผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์ทุกชนิด

     ซึ่งการทานมังสวิรัติแบบเหมาะสมนั้นก็มีส่วนช่วยในการลดน้ำหนัก และที่สำคัญช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายต่าง ๆ ซึ่งบางโรคนั้นเกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมของเรานั่นเองค่ะ เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคมะเร็ง ฯลฯ ใครที่รักสุขภาพก็ลองหันมาทานอาหารมังสวิรัติกันนะคะ และในตอนนี้เราก็มีเมนูมังสวิรัติมาแนะนำ สำหรับคนที่อยากจะเริ่มทานมังสวิรัติ หรือทานมังสวิรัติอยู่แล้ว นั่นก็คือเมนู “แกงจืดไข่น้ำ” 

| เมนูมังสวิรัติแสนอร่อย แกงจืดไข่น้ำ
แกงจืดไข่น้ำ

     แกงจืดไข่น้ำ ซึ่งเป็นหนึ่งในเมนูมังสวิรัตินั้น ถือเป็นเมนูเพื่อสุขภาพ และรสชาติอร่อยกลมกล่อม รูปร่างหน้าตาคล้ายแกงจืดทั่วไปที่เราทานกัน แต่ไม่ใช้เครื่องปรุงรสที่แปรรูปมาจากเนื้อสัตว์ และใส่ไข่ เต้าหู้ หรือวัตถุดิบอื่น ๆ แทนการใช้เนื้อสัตว์ หรือจะสรุปสั้น ๆ ว่าเป็นแกงจืดที่ไม่ใส่เนื้อสัตว์นั่นเองค่ะ ส่วนวิธีการทำก็คล้ายคลึงกัน เพียงแต่แกงจืดไข่น้ำจะสามารถทำได้ง่ายกว่า และใช้วัตถุดิบน้อยกว่า

     สำหรับอาหารมังสวิรัตินั้น ถือเป็นอาหารที่หาซื้อได้ยาก และต่อให้หาซื้อได้ หลายคนก็ไม่มั่นใจว่าจะเป็นอาหารมังสวิรัติที่ปราศจากเนื้อสัตว์จริงหรือไม่ ซึ่งวิธีการแก้ปัญหานี้ก็คือการทำทานด้วยตัวเองค่ะ เพราะจะทำให้เรามั่นใจในวัตถุดิบที่ใช้มากขึ้น และสามารถทานได้แบบสบายใจ ดังนั้น ไปดูวัตถุดิบ และวิธีการทำที่เรานำฝากกันเลยค่ะ

วัตถุดิบ
  1. ไข่ไก่ 3 ฟอง
  2. หอมหัวใหญ่หั่น 70 กรัม (แบ่งใส่สองรอบ)
  3. ขึ้นฉ่ายหั่น 20 กรัม
  4. ต้นหอมหั่น 20 กรัม
  5. น้ำเปล่า 750 ml
  6. เต้าหู้ไข่หั่นท่อน 140 กรัม
  7. ปูอัด 3 ชิ้น
  8. ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะ และ 1 ช้อนชา (แบ่งใส่สองรอบ)
  9. ซอสปรุงรส 1 ช้อนโต๊ะ
  10. พริกไทยป่น 1 ช้อนชา
  11. กระเทียมทุบ 1 กรีบ
  12. น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ
วัตถุดิบ แกงจืดไข่น้ำ
วิธีการทำ

     ในขั้นตอนนี้ขอบอกเลยนะคะว่าแกงจืดไข่น้ำนั้นทำได้ง่ายมาก ใคร ๆ ก็สามารถทำได้ เหมาะมาก ๆ กับคนที่เริ่มต้นการทานเมนูมังสวิรัติ เพราะรสชาติยังคงความเป็นแกงจืดอยู่ ตัดปัญหาเรื่องรสชาติจืดชืดไปได้เลย อร่อยแบบไม่ง้อเนื้อสัตว์เลยค่ะ แถมยังสามารถใส่วัตถุดิบอื่น ๆ ที่ปราศจากเนื้อสัตว์ได้ตามใจชอบ 

  1. ขั้นตอนแรกให้นำไข่ไก่ หอมหัวใหญ่หั่น 30 กรัม และซีอิ๊วขาว 1 ช้อนชา ใส่ลงไปในถ้วย และคนผสมกัน
  2. ตั้งกระทะด้วยไฟกลาง ใส่น้ำมันพืชลงไป รอจนร้อนแล้วใส่ไข่ที่เตรียมไว้ลงไปทอดได้เลย จากนั้นนำมาหั่นเป็นชิ้น ๆ ขนาดพอดีคำ
  3. ตั้งหม้อใส่น้ำเปล่าลงไปรอจนเดือดค่อยใส่ไข่ที่หั่นไว้ลงไป ตามด้วยหอมหัวใหญ่อีก 40 กรัม คนเล็กน้อย ใส่กระเทียมทุบลงไป และปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว ซอสปรุงรส พริกไทยป่น (หรือจะปรุงรสตามชอบก็ได้ค่ะ) จากนั้นใส่ขึ้นฉ่าย และต้นหอม พอเริ่มเดือดแล้วใส่เต้าหู้ไข่ที่หั่นไว้ลงไปได้เลยค่ะ เสร็จแล้วตักใส่จานเสิร์ฟได้เลย

ภาพจาก : เมนู.net , pantip.com , FoodTravelTVChannel

READ MOREREAD MORE
ต้มยำกุ้งน้ำข้น

ต้มยำกุ้งต้มยำกุ้ง

ต้มยำกุ้งน้ำข้น
ต้มยำกุ้งน้ำข้น

     อาหารไทยนั้นมีอยู่มากมายให้เลือกสรร อีกทั้งยังมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนอาหารของชาติอื่น โดยถือเป็นวัฒนธรรมที่ถูกส่งต่อกันมารุ่นสู่รุ่น ตั้งแต่สมัยโบราณ และถูกประยุกต์ ปรับปรุง พัฒนาให้เข้ากับปัจจุบันมากขึ้น ซึ่งอาหารพื้นเมืองของภาคต่าง ๆ ก็จะมีความแตกต่างกันไป ตามวิถีชีวิต และวัตถุดิบที่มีในภาคนั้น ๆ ในตอนนี้เราจะขอกล่าวถึงอาหารภาคกลาง 

     ภาคกลางนั้นนับเป็นภาคที่อุดมสมบูรณ์ และมีความเจริญมากกว่าภาคอื่น ๆ ในประเทศไทย วัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงอาหารหลากหลาย อีกทั้งยังได้รับอิทธิพลการทำอาหารมาจากเชื้อชาติอื่น ส่งผลให้อาหารภาคกลางนั้นมีอยู่มากมาย รสชาติอร่อยโดดเด่นครบรส ผ่านกรรมวิธีการปรุงที่มีให้เลือกใช้อย่างเหมาะสม การประดิษฐ์ตกแต่งอาหารสวยงามน่ารับประทาน และมักจะมีเครื่องเคียงต่าง ๆ ในการรับประทานด้วย 

     หลังจากที่ทุกคนได้รู้จักข้อมูลบางส่วนของอาหารภาคกลางแล้ว เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับหนึ่งเมนูอาหารของภาคกลาง ที่เป็นเมนูขึ้นชื่อ ทุกคนในประเทศไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี แถมยังเป็นเมนูที่ดังไกลถึงต่างประเทศ จนได้รับการยอมรับว่าอร่อยที่สุดในโลกอีกด้วย เมนูนั้นคือ “ต้มยำกุ้ง” นั้นเอง

| ต้มยำกุ้งน้ำข้น
ต้มยำกุ้ง อาหารภาคกลางรสชาติเข้มข้น

     เชื่อว่าหลายคนคงรู้จักอาหารภาคกลางอย่างต้มยำกุ้งเป็นอย่างดี และเคยรับประทานกันมาบ้างแล้ว เพราะเป็นอาหารไทยที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก ซึ่งอาหารประเภทแกงนี้มีรสชาติที่โดดเด่น จนหลายคนติดอกติดใจ นั้นก็คือ รสชาติเปรี้ยวจากมะนาวแท้ ๆ เค็มเล็กน้อย หวานหน่อย ๆ และเผ็ดแซ่บถึงใจ เข้มข้นครบรส และกลิ่นหอมจากวัตถุดิบหลากหลายที่ใส่ลงไปคลุกเคล้ากันได้อย่างลงตัว

     แม้จะเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อ หาซื้อได้ง่าย แต่ก็ไม่ใช่ว่าตามร้านที่ขายจะสามารถรังสรรค์รสชาติออกมาได้ถูกปากทุกคน ซึ่งในตอนนี้เราก็มีวัตถุดิบ และวิธีการทำต้มยำกุ้งมานำเสนอให้ทุกคนได้ลองทำตาม และปรับเปลี่ยนสูตร ปรุงรสได้ตามความชอบ 

วัตถุดิบ
  1. กุ้งผ่าหลัง และหัว     350 กรัม สามารถเลือกได้ตามชอบ เช่น กุ้งขาว กุ้งแม่น้ำ ฯลฯ
  2. เห็ดฟางหั่นครึ่ง หรือจะเพิ่มเห็ดอื่น ๆ ก็ได้ตามความชอบ 70 กรัม 
  3. ข่าหั่นแว่น              40 กรัม 
  4. ตะไคร้หั่นเฉียง         40 กรัม 
  5. ใบมะกรูดฉีก              5 กรัม 
  6. หอมแดงหัวเล็กผ่าครึ่ง 40 กรัม 
  7. พริกขี้หนูโขลกหยาบ   15 กรัม 
  8. ผักชีหั่น                 10 กรัม 
  9. ผักชีฝรั่งหั่น            10 กรัม 
  10. น้ำมะนาวคั้นสด          3 ช้อนโต๊ะ 
  11. เกลือ                      1 ช้อนชา
  12. น้ำปลา                    2 ช้อนโต๊ะ 
  13. น้ำพริกเผา                2 ช้อนโต๊ะ 
  14. นมข้นจืด                  5 ช้อนโต๊ะ 
  15. น้ำเปล่า                500 มิลลิลิตร
วัตถุดิบ ต้มยำกุ้งน้ำข้น
วิธีการทำ

     แม้ต้มยำกุ้งจะเป็นอาหารภาคกลางที่ขึ้นชื่อ และมีชื่อเสียง วัตถุดิบที่ใช้ทำมากมาย แต่ก็หาซื้อได้ง่าย และวิธีการทำนั้นแสนจะง่ายดาย ทุกคนสามารถทำได้ และเราขอแนะนำให้รับประทานตอนร้อน ๆ คู่กับข้าวสวยสักจาน จะได้รสชาติที่อร่อยครบรส แถมกลิ่นนั้นยังหอมเย้ายวนชวนรับประทาน ดังนั้น เราไปดูขั้นตอน และวิธีการทำกันเลยค่ะ

  1. ตั้งน้ำร้อนให้เดือด ใส่เครื่องต้มยำอย่าง ตะไคร้ ใบมะกรูด ข่า หอมแดง ลงไป ตามด้วยเห็ดฟาง คนเล็กน้อย และปรุงรสด้วยน้ำพริกเผา น้ำปลา เกลือ คนให้เข้ากัน และรอให้เห็ดสุก (ในขั้นตอนนี้ใครชอบรสหวาน สามารถเติมน้ำตาลได้ตามชอบ)
  2. เมื่อน้ำเดือดแล้วให้ใส่กุ้งที่เตรียมไว้ลงไป และรอให้สุกจนเดือด ตามด้วยผักชี และผักชีฝรั่ง เพื่อเพิ่มความหอม 
  3. ปิดเตา ใส่พริกขี้หนูตามความชอบ ตามด้วยนมข้นจืด และน้ำมะนาว คนให้เข้ากัน ชิมรสชาติ หากยังไม่ถูกใจสามารถปรุงรสเพิ่มได้ตามความชอบ เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย จัดใส่ถ้วย โรยผักชี และจัดเสิร์ฟได้เลย

ภาพจาก : food2fast.com , pantip.com

READ MOREREAD MORE
สะตอผัดกะปิกุ้งสด

สะตอผัดกะปิกุ้งสดสะตอผัดกะปิกุ้งสด

อาหารภาคใต้ หรอยจังฮู้
สะตอผัดกะปิกุ้งสด

     ภาคใต้นั้นเป็นภาคหนึ่งในประเทศไทย ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าภาคอื่น ๆ ด้วยความที่มีทะเลอยู่ใกล้ จึงนิยมนำสัตว์ทะเลสด ๆ มาประกอบอาหาร ซึ่งในอดีตเคยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือค้าขายจากต่างประเทศ เช่น อินเดีย จีน ชวา ฯลฯ ส่งผลให้ได้รับวัฒนธรรมหลายอย่างมาจากต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่จะได้รับวัฒนธรรมเครื่องเทศมาจากอินเดียใต้ ซึ่งอาหารก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่ถูกนำมาดัดแปลง ให้มีเอกลักษณ์ตามแบบฉบับของอาหารภาคใต้ คือมีรสชาติเผ็ดจัดจ้าน มีการใช้เครื่องเทศมากมายในการประกอบอาหาร อาหารส่วนใหญ่นั้นจะเป็นประเภทแกง ทานคู่กับผักเนาะ หรือผักที่ทานคู่กับอาหารใต้ เช่น มะเขือ ถั่วฝักยาว สะตอ รวมทั้งผักพื้นบ้านอื่น ๆ 

     อาหารภาคใต้มีเมนูที่ขึ้นชื่อมากมาย ยกตัวอย่างอาหารที่เรารู้จักกันดี นั่นก็คือ แกงไตปลา น้ำพริกกะปิ คั่วกลิ้ง เป็นต้น ซึ่งรสชาติส่วนใหญ่นั้นจะเผ็ด และมีเครื่องเทศ หรือเครื่องแกงใส่ผสมลงไป ทำให้ได้กลิ่นที่หอมหวนชวนรับประทานเป็นอย่างมาก หากใครชอบทานอาหารทะเล หรืออาหารไทยที่มีรสจัดจ้าน อาหารใต้อาจจะมีหลายเมนูที่เป็นเมนูโปรดของคุณนะคะ

     ในตอนนี้เราก็ได้นำสูตรวิธีการทำอาหารภาคใต้ ที่มีครบทุกเอกลักษณ์ที่กล่าวมา และวัตถุดิบหลักในเมนูนี้ก็คือสะตอ ซึ่งมีปลูกกันทั่วไปในแถบภาคใต้ หรือจะเรียกว่าเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของภาคใต้เลยก็ไม่ผิด เพราะสะตอในปัจจุบันนั้นหาได้ยากในภาคอื่น ๆ วัตถุดิบหลักอีกหนึ่งอย่างคือกะปิ หรือที่คนใต้เรียกกันว่าเคย เมนูที่เรานำมาเสนอในวันนี้ก็คือ “สะตอผัดกะปิกุ้งสด”

| สะตอผัดกะปิกุ้งสด
สะตอผัดกะปิกุ้งสด อาหารภาคใต้

     สำหรับคนที่ไม่ใช่คนใต้ อาจจะไม่เคยลองทานอาหารภาคใต้อย่าง สะตอผัดกะปิกุ้งสด เมนูอาหารใต้ยอดนิยมของคนใต้อีกหนึ่งเมนู เพราะรสชาติครบรส เค็ม เปรี้ยว หวาน เผ็ดจัดจ้านมาก ๆ นุ่มเนื้อกุ้งเต็มปากเต็มคำ แถมยังมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวของกะปิ และสะตอผักพื้นบ้านของภาคใต้ ที่บางคนอาจจะบอกว่าไม่ชอบกลิ่นของวัตถุดิบเหล่านี้ แต่เมื่อนำมาประกอบอาหาร ทานคู่กับผัก และข้าวร้อน ๆ แล้วขอบอกเลยว่า อร่อยเด็ดเผ็ดซี๊ด ไม่แพ้อาหารภาคอื่นเลยค่ะ

     นอกจากจะเป็นอาหารที่อร่อยจัดจ้านแล้ว ยังมีประโยชน์อีกด้วยนะคะ เนื่องจากสะตอเป็นผักที่มีประโยชน์มากมาย เพราะมีวิตามิน และแร่ธาตุหลายชนิด ทั้งวิตามิน โปรตีน แคลเซียม คาร์โบไฮเดรต ฟอสฟอรัส ฯลฯ สามารถช่วยบรรเทาโรคต่าง ๆ ได้ เช่น ลดอาการท้องผูก ป้องกันการเกิดริดสีดวงทวาร ป้องกันโรคเบาหวาน แก้ปัสสาวะพิการ ขับลมในลำไส้ เป็นต้น ดังนั้นเราไปดูวัตถุดิบ และวิธีการทำกันเลยดีกว่าค่ะ

วัตถุดิบ
  1. สะตอแกะเม็ดหั่นบาง      120 กรัม
  2. กุ้งสดแกะเปลือก ผ่าหลัง 150 กรัม
  3. กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ
  4. พริกแดงจินดา 4 เม็ด
  5. พริกเหลืองหั่นบาง 2 เม็ด
  6. พริกชี้ฟ้าแดงหั่นบาง 1 เม็ด
  7. หอมแดงซอย 3 หัว
  8. น้ำตาลทราย 3/4 ช้อนโต๊ะ
  9. น้ำปลา 1 ช้อนชา
  10. น้ำมันเล็กน้อย
วัตถุดิบ สะตอผัดกะปิกุ้งสด
วิธีการทำ

     เมื่อเราได้ทำความรู้จักกับอาหารภาคใต้ และเมนูสะตอผัดกะปิกุ้งสดกันมาพอหอมปากหอมคอแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนวิธีการทำที่แสนจะง่ายดาย ซึ่งเราได้นำมาฝากให้ได้ลองทำตามกัน สำหรับคนที่อยากลองทำเอง ปรุงรสด้วยตัวเอง ชอบรสชาติแบบไหนก็สามารถใส่ได้ตามชอบ หรือจะนำมาใส่กับเนื้อสัตว์อย่างอื่นก็ใส่ได้อย่างจุใจ อร่อยเต็มอิ่ม แบบไม่ง้อร้านอาหารดัง ๆ เลยค่ะ 

  1. ขั้นตอนแรกใส่พริกเหลือง พริกแดงจินดาลงไปโขลกรวมกันในครกให้ละเอียด ตามด้วยหอมแดง และกะปิ โขลกต่อให้ละเอียดจนส่วนผสมเข้ากันเป็นเนื้อเดียว
  2. ตั้งหม้อให้ร้อน ลวกสะตอเป็นเวลา 1 นาที จนสุก ปิดเตา และนำไปน็อคน้ำเย็นจัด และนำออกมาพักให้สะเด็ดน้ำ
  3. ตั้งกระทะให้ร้อนเล็กน้อยด้วยไฟกลาง ใส่น้ำมันลงไป เมื่อน้ำมันร้อนแล้วให้ใส่พริกแกงที่เตรียมไว้ในขั้นตอนที่ 1 ลงไปผัดให้กัน จนหอมกรุ่น ใส่กุ้งลงไปผัดคลุกเคล้ากับพริกแกงให้สุกเล็กน้อย ตามด้วยสะตอผัดให้เข้ากัน (ในขั้นตอนนี้หากแห้งเกินไปสามารถเดิมน้ำได้ค่ะ)
  4. ปรุงรสชาติโดยใส่น้ำตาลทราย น้ำปลา และชิมรสชาติ หากยังไม่พอใจ สามารถเติมได้ค่ะ หลังจากนั้นใส่พริกชี้ฟ้าที่เตรียมไว้ ผัดเล็กน้อยแล้วค่อยปิดเตา ตักใส่จานเสิร์ฟได้เลยค่ะ

     สำหรับเมนูนี้ขอแนะนำเล็กน้อย คือต้องทานตอนร้อน ๆ คู่กับข้าวสวย และผักอื่น ๆ นะคะ จะได้รับรสชาติที่อร่อย หอมกรุ่นไปทั่วทั้งโต๊ะอาหารเลยค่ะ เป็นเมนูอาหารภาคใต้ ที่ใครได้ลองทานก็ต่างติดใจกันทั้งนั้น แถมยังทำได้ง่าย มือใหม่ก็สามารถทำตามกันได้ง่าย ๆ นะคะ

ภาพจาก : tv.line.me , wongnai.com , bkkmenu.com

READ MOREREAD MORE
แกงหน่อไม้ใบย่านาง

แกงหน่อไม้ใบย่านางแกงหน่อไม้ใบย่านาง

แกงหน่อไม้ใบย่านาง
แกงหน่อไม้ใบย่านาง

     ในประเทศไทยนั้น ภาคอีสาน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นับเป็นอีกหนึ่งภาคที่มีอาหารรสเลิศ แม้จะเป็นภาคที่อุดมสมบูรณ์น้อยกว่าภาคอื่น ๆ แต่คนที่อาศัยอยู่ในภาคอีสานก็ปรับตัว และรังสรรค์อาหารได้อย่างครบรส หลากหลาย แสวงหาวัตถุดิบมาประกอบอาหารได้เป็นอย่างดีจากแมลง พืชผัก และวัตถุดิบอื่น ๆ ที่หาได้ง่ายในละแวกนั้น โดยเฉพาะเมนูที่ประกอบด้วยปลาร้าอย่างส้มตำนั้น ก็ถือเป็นเมนูที่โด่งดังไปทั่วประเทศ อีกอย่างหนึ่งของอาหารภาคอีสานที่สำคัญคือ ไม่นิยมใช้เครื่องเทศมากมายในการประกอบอาหาร โดยจะใช้ปลาร้าแทนความเค็มจากเกลือได้อย่างอร่อยลงตัว ส่วนรสเปรี้ยวนั้นจะใช้มะกอก ใบมะขามอ่อน หรือมดแดงแทน จึงได้รสชาติอาหารที่แตกต่างจากภาคอื่น ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นเอกลักษณ์ของอาหารอีสาน

     คนอีสานนั้นนิยมรับประทานข้าวเหนียวเป็นหลัก คล้ายคลึงกันกับภาคเหนือ แต่อาหารภาคอีสานนั้นจะแตกต่างจากภาคอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งอีกหนึ่งอย่างที่นิยมกันคือชอบทานอาหารรสจัด หรือทานอาหารที่สุก ๆ ดิบ ๆ เช่น ลาบ ก้อย จุ๊เนื้อ เป็นต้น และอาหารหลายอย่างนั้นมักจะปรุงด้วยปลาร้า และกรรมวิธีการทำอาหารก็หลากหลาย เช่น การอ่อม การหมก การซุป ฯลฯ ซึ่งทำออกมาได้น่ารับประทานเลยทีเดียว

     ในตอนนี้เราก็มีเมนูอาหารภาคอีสานยอดนิยม ซึ่งประกอบด้วยผักนา ๆ ชนิดที่หาได้ง่ายในละแวกนั้น อีกทั้งยังมีวัตถุดิบหลักอย่างปลาร้าประกอบด้วย ซึ่งจะทำให้คุณได้รับประทานอาหารอีสานแบบแท้ ๆ นั่นก็คือ “แกงหน่อไม้ใบย่านาง” 

| แกงหน่อไม้ใบย่านาง
แกงหน่อไม้ใบย่านาง

     แกงหน่อไม้ใบย่านางนั้นเป็นอาหารภาคอีสาน ซึ่งนิยมทำรับประทานกันในครัวเรือน หรือจะเรียกว่าเป็นเมนูโปรดของคนอีสานหลาย ๆ คนเลยก็ว่าได้ หน่อไม้กรอบ ๆ เข้ากันดีกับใบย่านาง และวัตถุดิบอื่น ๆ ที่ใส่ลงไปผสมคลุกเคล้ากันอย่างลงตัว รสชาติเข้มข้น ชูรสวัตถุดิบชั้นเลิศอย่างปลาร้าได้ดีสุด ๆ 

     นอกจากจะมีความอร่อยแล้ว วัตถุดิบต่าง ๆ ที่ใส่ลงไปยังมีประโยชน์ ทั้งหน่อไม้ที่ช่วยลดอาการท้องผูก สมุนไพรใบย่านางที่หลายคนอาจไม่รู้จักนั้นยังมีประโยชน์หลากหลาย เช่น สร้างภูมิคุ้มกัน ปรับสมดุลร่างกาย ชะลอความแก่ชรา เป็นต้น นอกจากนี้วัตถุดิบอื่น ๆ ก็ยังมีประโยชน์ไม่แพ้กัน ดังนั้น เราไปดูวัตถุดิบในการทำกันเลยค่ะ

วัตถุดิบ
  1. น้ำใบย่านาง 1 ลิตร
  2. หน่อไม้ต้ม หั่นบางเป็นแนวเฉียง 400 กรัม
  3. พริกขี้หนูสามารถใส่ได้ตามชอบ
  4. พริกสดตามชอบ
  5. น้ำปลาร้า 1/2 ถ้วยตวง
  6. ฟักทอง 1 ถ้วยตวง
  7. ชะอมเด็ด 100 กรัม
  8. ใบแมงลัก 100 กรัม
  9. เห็ดฟางหั่น 150 กรัม
  10. หอมแดง 20-30 กรัม
  11. น้ำปลา 1-2 ช้อนชา
  12. ผงชูรส 1 ช้อนชา
  13. ข้าวเบือ (ข้าวเหนียวแช่น้ำโขลกละเอียด) 2 ช้อนโต๊ะ
วัตถุดิบ แกงหน่อไม้ใบย่านาง
วิธีการทำ

     สำหรับเมนูอาหารภาคอีสานยอดนิยมนี้คงไม่ต้องบอกว่าอร่อยขนาดไหน ใครที่ชื่นชอบปลาร้าต้องลองทำแกงหน่อไม้ใบย่านางทานเองกันดูสักครั้ง เพราะการซื้อกินเพียงอย่างเดียวอาจทำให้คุณไม่ได้รับความพึงพอใจเท่าที่ควร แม้จะเป็นอาหารที่ทำง่าย แต่ขอบอกตรงนี้เลยว่า ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถทำออกมาได้อร่อย นั่นก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ความชำนาญ วิธีการปรุง วัตถุดิบ เป็นต้น ซึ่งในวันนี้เราก็มีวิธีทำมาฝากกันให้ได้ลองทำตามกันง่าย ๆ ดังนี้

  1. ขั้นตอนแรกใส่หอมแดง พริกสด ตะไคร้ซอย ข้าวเบือ ลงไปโขลกให้เข้ากันแบบหยาบ ๆ ในครก
  2. ตั้งหม้อ เทน้ำใบย่านางลงไป ตามด้วยหน่อไม้ต้มที่เตรียมไว้ จากนั้นต้มด้วยไฟกลาง และเทส่วนผสมในขั้นตอนแรกลงไป ผสมกับฟักทอง น้ำปลาร้า น้ำปลา ผงชูรส น้ำตาล หลังจากนั้นคนให้เข้ากัน รอให้ฟักทองสุกนิ่ม
  3. ใส่เห็ดฟางหั่น ชะอมเด็ด ใบแมงลัก และพริกขี้หนูลงไปในหม้อ คนเล็กน้อย รอให้สุก จากนั้นตักมาชิม หากยังไม่ถูกใจก็สามารถปรุงรสเพิ่มได้ตามชอบ เสร็จแล้วจัดเสิร์ฟได้เลยค่ะ

ภาพจาก : food.mthai.com  pim.in.th noobeebee.com

READ MOREREAD MORE
ข้าวซอยไก่

ข้าวซอยไก่ เมนูอาหารขึ้นชื่อของภาคเหนือข้าวซอยไก่ เมนูอาหารขึ้นชื่อของภาคเหนือ

ข้าวซอยไก่ เมนูอาหารขึ้นชื่อของภาคเหนือ
ข้าวซอยไก่อาหารภาคเหนือ

     ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอาหารหลากหลาย ที่แตกต่างกันตามภูมิภาค ซึ่งในตอนนี้เราจะกล่าวถึง อาหารภาคเหนือที่มีมากมาย ทานคู่กับข้าวเหนียว และน้ำพริกเป็นหลัก และเนื่องจากเป็นภาคที่มีอากาศหนาวเย็น อาหารส่วนใหญ่จึงมีไขมันมาก การรับประทานอาหารบางชนิดจึงช่วยให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น อีกทั้งอาหารเหล่านี้ยังมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในเรื่องของรสชาติ แทนที่ความหวานของน้ำตาลด้วยการใช้วัตถุดิบอื่น ๆ รวมทั้งผัก และสมุนไพรบางชนิดนั้นหาได้ง่ายแค่ในภาคเหนือเท่านั้น เช่น ผักคราดหัวแหวน ผักแค ผักหวาน ฯลฯ ซึ่งผักเหล่านี้นิยมนำมาทำน้ำพริกชนิดต่าง ๆ ตามแบบฉบับของภาคเหนือ และนิยมนำมารับประทานเป็นเครื่องเคียงคู่กับอาหารอื่น ๆ 

     อาหารภาคเหนือนั้นนอกจากจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแล้ว ยังมีประโยชน์จากวัตถุดิบสมุนไพรต่าง ๆ ที่นิยมนำมาประกอบอาหาร เนื่องจากมีภูเขา และป่าอยู่มากมาย จึงหาพืชผักสมุนไพรได้อย่างง่ายดาย แถมรสชาตินั้นยังเรียกว่าอร่อยครบรสไม่แพ้อาหารของภาคอื่น ๆ เลยทีเดียว

     เมื่อเรารู้จักข้อมูลของอาหารการกินของผู้คนในภาคเหนือแล้ว เราก็จะมาต่อกันที่การแนะนำอาหารขึ้นชื่อของภาคเหนือ ที่หลายคนอาจจะเคยพบเจอกันมาบ้างแล้ว เพราะมีขายอยู่ทั่วไป ด้วยรสชาติที่อร่อย และมีเอกลักษณ์ นั่นก็คือ ข้าวซอยไก่ นั่นเอง

| อาหารภาคเหนือ “ข้าวซอยไก่”
ข้าวซอยไก่อาหารภาคเหนือ

     เมื่อกล่าวถึงอาหารอย่างข้าวซอยไก่ หลายคนคงนึกถึงข้าวที่เรารับประทานกันเป็นประจำ แต่ข้าวที่เราหมายถึงนั้น ไม่มีเม็ดข้าวอยู่เลยแม้แต่น้อย และนี่ก็ถือเป็นเอกลักษณ์อีกหนึ่งอย่างของอาหารภาคเหนือ เพราะชื่อของอาหารบางอย่างนั้นจะไม่เหมือนกับชื่ออาหารทั่วไป ซึ่งข้าวซอยไก่เป็นอาหารของชาวล้านนา ถูกพัฒนามาจากอาหารของชาวมุสลิม มีรสชาติที่อร่อยเข้มข้นกลมกล่อม หอมเครื่องเทศ ลักษณะคล้ายก๋วยเตี๋ยวที่เส้นเหนียวนุ่ม แต่เพิ่มความกรุบกรอบเข้ามา ทำให้การรับประทานมีอรรถรสมากยิ่งขึ้น

     หลาย ๆ คนคงเคยทานข้าวซอยไก่กันมาบ้างแล้ว แต่อาจไม่เคยลิ้มลองรสชาติข้าวซอยสูตรล้านนาแท้ ๆ ซึ่งอร่อยแตกต่างจากที่มีขายอยู่ทั่วไป ด้วยการใช้วัตถุดิบที่สดใหม่ เสิร์ฟร้อน ๆ เคียงคู่กับเครื่องเคียงที่หลากหลาย เป็นอาหารที่ทั้งอร่อย และมีประโยชน์ แต่การซื้อมารับประทานนั้นอาจไม่ตอบโจทย์มากนัก ซึ่งเราก็ได้นำสูตรวิธีการทำมาแนะนำให้ทุกคนได้ลองทำอาหารภาคเหนือทานเองกันที่บ้าน

วัตถุดิบ
  1. เนื้อน่องไก่      4 ชิ้น 
  2. หางกะทิ         2 ถ้วยตวง
  3. หัวกะทิ          ½ ถ้วยตวง
  4. น้ำเปล่า      600 มิลลิลิตร
  5. น้ำมันพืช         1 ช้อนโต๊ะ 
  6. ผงขมิ้น           1 ช้อนชา
  7. ผงกะหรี่          1 ช้อนโต๊ะ
  8. ลูกผักชีคั่วป่น    2 ช้อนชา
  9. น้ำตาลปี๊บ        1 ช้อนโต๊ะ
  10. พริกแกงเผ็ด  3-4 ช้อนโต๊ะ
  11. ซีอิ๊วขาว          1 ช้อนโต๊ะ
  12. น้ำปลา            1 ช้อนโต๊ะ
  13. เส้นบะหมี่เหลือง 5 ก้อน (แบ่งไปทอดกรอบ 2 ก้อน)
  14. เครื่องเคียง พริกป่นคั่วน้ำมัน พริกแห้งทอด มะนาวสด หอมแดงซอย ผักกาดดองซอย ต้นหอมผักชี สามารถเลือกใส่ตามชอบได้เลยค่ะ
วัตถุดิบในการทำข้าวซอยไก่
วิธีการทำ

     ขอบอกกันก่อนเลยว่า แม้ข้าวซอยไก่อาหารภาคเหนือนั้นจะมีวัตถุดิบที่ใช้ประกอบการทำมากมาย แต่สามารถทำได้ง่าย ๆ ใช้อุปกรณ์ และเวลาในการทำน้อยกว่าอาหารชนิดอื่น ๆ หากได้ทำเองแล้ว จะสามารถปรุงรสเพิ่มนิดเติมหน่อยให้อร่อยถูกใจได้อย่างแน่นอน อีกทั้งยังได้รับความอร่อยที่เพิ่มขึ้นจากวัตถุดิบที่สดใหม่ และได้ทานกันตอนร้อน ๆ หลังยกออกจากเตา เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ต่อไปเราไปดูวิธีการทำกันเลยค่ะ

  1. เริ่มต้นด้วยการทำน้ำพริกแกงข้าวซอย โดยนำพริกแกงเผ็ดไปผัดในกระทะให้หอม ตามด้วยลูกผักชีป่น ผงขมิ้น และผงกะหรี่ ลงไปผัดคลุกเคล้าให้เข้ากันจนหอมกรุ่น จากนั้นใส่น่องไก่ลงผัดจนพริกแกงเข้าเนื้อ แล้วค่อย ๆ เติมหางกะทิลงไป
  2. เมื่อผัดจนเข้ากันแล้วปรุงรสด้วย น้ำปลา น้ำตาลปี๊บ และซีอิ๊วดำ เมื่อเดือดแล้วให้เติมหัวกะทิลงไป เคี่ยวต่อจนกระทั่งไก่สุก และปิดเตา
  3. ต้มน้ำให้เดือน และต้มบะหมี่เหลือง เมื่อสุกแล้วให้นำไปน็อคในน้ำเย็น 
  4. จากนั้นทอดหมี่เหลือง โดยตั้งน้ำมัน และนำบะหมี่เหลืองลงไปทอดต่อให้สุกกรอบ 
  5. นำบะหมี่เหลืองที่พักไว้ใส่ลงไปในถ้วย ตามด้วยน่องไก่ และน้ำพริกแกงที่ทำไว้ ใส่บะหมี่กรอบที่ทอดไว้ลงไป แต่งหน้าต่อด้วยเครื่องเคียงที่เตรียมไว้ตามชอบ เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้น

     สำหรับเมนูนี้ขอบอกเลยว่าเป็นเมนูอาหารภาคกลางที่ทั้งอร่อย และมีประโยชน์ นั่นก็คือ โปรตีนจากเนื้อไก่ ผงขมิ้นที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน พริกช่วยให้กระชุ่มกระชวย ตะไคร้รักษาอาการเบื่ออาหาร ไขมันช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่น และอีกมากมาย ที่คุณจะได้รับหลังจากที่ทานข้าวซอยไก่

READ MOREREAD MORE
ซุปหน่อไม้

อาหารไทยแซ่บสะท้านทรวง อร่อยเด็ด!!อาหารไทยแซ่บสะท้านทรวง อร่อยเด็ด!!

อาหารไทยแซ่บสะท้านทรวง อร่อยเด็ด!!
อาหารไทย

     เมื่อเรากล่าวถึงอาหารไทย มักจะนึกถึงแต่อาหารไทยของภาคกลางที่เราคุ้นเคยเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นพวกแกงกะทิ อย่างเมนูชื่อดังเช่นต้มยำกุ้ง หรือแกงเขียวหวาน แกงเผ็ด แต่อาหารไทยภาคหนึ่งที่รสชาติอร่อยเด็ด แสบถึงทรวงต้องยกให้กับอาหารอีสานเลย อาหารอีสานจะมีความแตกต่างอย่างมากกับอาหารภาคอื่น ๆ เอกลักษณ์ของอาหารอีสานนั้นจะมีความพิเศษที่ความเผ็ดและความนัวของปลาร้า ที่นิยมทานกันทั่วไปในภาคอีสาน ถือว่าเป็นภาพลักษณ์เลยว่า คนอีสานต้องคู่กับปลาร้า และจะนิยมทานข้าวเหนียวกันเป็นส่วนใหญ่ อาหารการทานก็จะง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก หาวัตถุดิบได้จากท้องถิ่นทั่วไป เทคนิคการทำจะเป็นชาวบ้าน ไม่เน้นความประณีตงดงามมากมาย

| 1.ซุปหน่อไม้
ซุปหน่อไม้

     อาหารไทยเมนูเด็ดสุดแซ่บอย่าง อาหารอีสาน เมนูยอดนิยมที่รับรองว่าทุกคนต้องรู้จักเมื่อเราเอ่ยชื่อออกมา นั่นคือ “ซุปหน่อไม้” เป็นเมนูที่หาทานได้ง่ายมาก ใช้วัตถุดิบพื้นบ้านอย่าง หน่อไม้ มาทำได้เลย โดยปกติถ้าเป็นชาวบ้าน ก็จะทำการหาหน่อไม้ทำทานได้เอง แต่ถ้าหากเราไม่รู้จะไปหา หรือขุดหน่อไม้ไม่เป็น ก็ไม่ยากเลย ซื้อตามตลาดได้เลย ราคาไม่แพง ไม่ต้องเหนื่อยอีกด้วย

     ซึ่งวันนี้เราจะมาแชร์เคล็ดลับความอร่อยเด็ดในการทำอาหารไทย ประจำภาคอีสาน ที่ทำทานเองได้ที่บ้าน วิธีการทำแสนง่ายได้ ไม่ยุ่งยาก มาดูกันวันทำยังไง

วัตถุดิบ
  1. ใบย่านาง                       5-10 ใบ
  2. หน่อไม้รวก ขูดเป็นเส้นยาว
  3. น้ำปลาร้า                           3 ช้อน
  4. เกลือป่น                         1/2 ช้อนชา
  5. หอมแดงซอย                      3 หัว
  6. น้ำมะนาว สำหรับปรุงรส
  7. น้ำปลา สำหรับปรุงรส
  8. พริกป่นใส่ปริมาณได้ตามชอบ
  9. ข้าวคั่ว                              1 ช้อนโต๊ะ
  10. ผักชีฝรั่งซอยใส่ปริมาณได้ตามชอบ
  11. ต้นหอมซอยใส่ปริมาณได้ตามชอบ
วิธีการทำซุปหน่อไม้แสนอร่อย

วิธีการทำซุปหน่อไม้แสนอร่อยทานเองที่บ้าน ก็มีเพียงแค่ 3 ขั้นตอนง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ ทำตามกันได้เลย แม่ครัว พ่อครัวมือใหม่ ทั้งหลาย

  1. นำใบย่านางมาล้างทำความสะอาดให้หมดจด แล้วขยี้ใบย่านางกับน้ำเปล่าสะอาดสำหรับทำอาหาร  จนน้ำเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม แล้วให้ทำการกรองเอากากใยออกให้หมด เอาเพียงแค่เฉพาะน้ำ แล้วเทใส่หม้อ เตรียมไว้
  2. ต้มน้ำจนเดือด แล้วให้ใส่หน่อไม้ที่ทำการรวกแล้วลงต้มให้น้ำเดือด ยกลงจากเตา พักให้น้ำเย็น แล้วก็บีบน้ำออกจากหน่อไม้รวกให้ ใส่น้ำใบย่านางที่เตรียมไว้ลงไป ยกขึ้นตั้งไฟจนเดือดอีกครั้ง จากนั้นจะเป็นขั้นตอนการเติมเกลือป่น น้ำปลาลงไปในหม้อที่ต้มอยู่ รอสักครู่ ยกลงจากเตา
  3. ขั้นต่อมาตักหน่อไม้ที่ต้มจากขั้นตอนที่สองเมื่อสักครู่ ใส่ในกะละมัง ใส่หอมแดงซอย เข้าสู่กระบวนการปรุงรส ใส่น้ำมะนาว น้ำปลา พริกป่น และข้าวคั่ว ปรุงรสตามใจชอบ คลุกเคล้าผสมให้เข้ากัน จากนั้นให้ใส่ผักชีฝรั่งซอยเป็นท่อน ๆ ที่เตรียมไว้ ใส่ต้นหอมซอยลงไป คลุกเคล้าให้เข้ากันอีกครั้ง ตักเสิร์ฟใส่จาน โรยหน้าด้วยใบสะระแหน่ รสร้อนแรง พร้อมเสิร์ฟทานกับข้าวเหนียวร้อน ๆ อร่อยไม่รู้ลืม

     เป็นยังไงกันบ้าง กับวิธีการทำ ซุปหน่อไม้ อาหารไทยภาคอีสาน ไม่ยากเลยใช่ไหม ลองไปทำทานกันดูเลย เป็นเมนูง่าย ๆ การทำไม่ซับซ้อน มือใหม่ฝึกเข้าครัวก็ทำได้ อร่อยเด็ด แซ่บฉบับอาหารอีสานอย่างแน่นอน ไม่ต้องไปถึงอีสาน ก็ได้ทานอาหารอีสานสมใจอยาก

     อาหารไทย รสแซ่บนอกจาก ซุปหน่อไม้แล้ว อาหารอีสานยังมีอีกหลากหลายเมนู ที่น่าทานมาก ๆ ต้องได้ลองสักครั้งรับรองว่าจะติดใจอย่างแน่นอน รสชาติครบเครื่องมาก ไม่ว่าจะเป็นหมูน้ำตก ลาบหมู แจ่วบอง แกงหน่อไม้ใบย่านาง ต้มแซ่บกระดูกหมูอ่อน ตับหวาน ก้อยไข่มดแดง ก้อยเนื้อ ไส้ย่าง คอมหมูย่าง กับน้ำจิ้มแจ่วรสเด็ด หมกฮวก ซุปบักมี่ หมกหน่อไม้ แกงผักหวานไข่มดแดง ตำหลวงพระบางรสเผ็ดจัดจ้าน แกงเปรอะครบรส ลาบปลาดุก ยำขนมจีน และอีกหลายเมนูที่น่าทานมาก เราจะนำเคล็ดลับความอร่อย และวิธีการทำของแต่ละเมนูมาแชร์ให้คนทางบ้านได้เข้ามาเยี่ยมชม และได้ลองทำทานเอง น่าภูมิใจจริง ๆ ที่ประเทศของเรามีอาหารที่อร่อยเยอะแยะมากมายขนาดนี้

READ MOREREAD MORE